ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับต้น “ พญาคชราช” (Payakocharach ) โดย นายพงศรันทร์ ซุ้นสุวรรนศรี ประธานโครงการประเทศสีเขียว
ในขณะที่ภาคเอกชนให้ความสนใจ หันมารณรงค์ให้มีการปลูกป่าเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐควรให้การสนับสนุน รวมถึงการให้ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับพันธุ์ไม้อย่างถูกต้อง ภาคเอกชนมีความประสงค์จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการสนับสนุนให้มีการปลูกป่า โดยการเสาะหาพันธุ์ไม้ที่ดี โตเร็ว (ที่มีอยู่ในประเทศไทย) และเกิดประโยชน์ต่อผู้ปลูกต้น “พญาคชราช” และผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบ ตั้งแต่ผู้ เพาะกล้า ผู้จัดจำหน่าย ผู้นำไปปลูก รวมทั้งกระบวนการอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จากไม้ สิ่งสำคัญคือ ลดต้นทุน ฝ่ายผลิตและลดการนำเข้าไม้ จึงขอให้ข้อคิดเห็นดังนี้
3. การที่ โครงการประเทศสีเขียว (Green Country Project) ซึ่งเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริของภาค เอกชน ได้รณรงค์ให้มีการปลูกต้นไม้ เช่น “พญาคชราช” และพันธุ์ไม้ยืนต้นโตเร็วชนิดอื่นๆ กล้าไม้ยืนต้น ทุกชนิดรวมทั้งพืชพลังงานทดแทนจำนวน 984,000,000 ต้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช เนื่องในวโรกาสที่พระองค์จะทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2554 และเพื่อลดภาวะโลกร้อน นอกจากนั้นโครงการประเทศสีเขียว ยังร่วมสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสาธารณะกุศลอื่นๆ รวมทั้งได้มีการมอบกล้าพันธุ์ไม้ ให้แก่หน่วยงานภาคเอกชน ภาครัฐ และมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ อีกด้วย
การปลูกป่า “พญาคชราช” (Payakocharach ) เพื่อสิ่งแวดล้อมและการใช้สอย
“เราต้องพยายามเลือกต้นไม้ที่โตเร็ว เพราะต้นไม้โตเร็วดูดซับ คาร์บอนไดออกไซด์ได้มาก ต้นไม้ที่เรากำลัง รณรงค์เช่นต้น “พญาคชราช”ได้นำมาปลูกในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรเป็นการทดลองและเผยแพร่ ให้เห็นว่าเราได้ช่วยกันลดภาวะโลกร้อน แล้วยังสามารถที่จะเอามาใช้งานได้ด้วย สามารถนำไปใช้งานทดแทน ไม้ที่นับวันยิ่งจะหายาก เพราะไม้ในป่าเราหาไม้ดีๆไม่ได้แล้ว และทดแทนไม้ในป่าด้วย เดี๋ยวนี้เรามีเทคโนโลยี เยอะที่ทำให้ไม้คงทนได้ เช่น วิธีอบไม้ ป้องกันปลวกขึ้นหรือแมลง และเราอาจจะนำไปทำเฟอร์นิเจอร์หรือที่อยู่ อาศัยได้ จึงอยากจะเรียนเชิญท่านทั้งหลาย ซึ่งตอนนี้แทบจะสายไปแล้วที่จะช่วยกันฟื้นฟูป่าไม้ขึ้นมาช่วยดูดซับ คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมโลกทั้งหลายทั้งปวง”
ความต้องการและตลาดของไม้ “ พญาคชราช” (Payakocharach) และไม้อื่นๆ
เอส.บี. เฟอร์นิเจอร์ “ สำหรับ เอส.บี. อันดับแรก ไม้ที่จะนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ จะต้องเป็นไม้ที่เกิดจากการปลูก ไม่ทำลาย สภาพดิน มีความแข็งแรง ข้อสุดท้ายจะต้องเป็นไม้ที่มีความจูงใจให้เกษตรกรร่วมมือร่วมใจในการที่ จะปลูกป่า ”
ร้านอูมามิ
นาย พุฒเมศ เลิศวิริยะเศรษฐ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ไดโดมอน จำกัด